เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ส.ค.) ตนได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดเลขที่ สธ.0410.3/ว 516 ส่งถึงผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1-12 แจ้งการนำส่งวัคซีนไฟเซอร์ รอบแรกเดือน ส.ค.2564 ระหว่างวันที่ 4-6 ส.ค.2564 จำนวนรวม 322,800 โดส เพื่อฉีดให้บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทุกคนที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 จากการปฏิบัติงานทั่วประเทศ โดยหลักการคือฉีดให้กับ 1.บุคลากรที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม ครบ 2 เข็ม อย่างน้อย 1 เดือน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์กระตุ้น 1 เข็ม 2.บุคลากรที่ได้รับวัคซีนใดๆ มาแล้วเพียง 1 เข็ม พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 โดยระยะเวลาระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นหลัก 3.บุคลากรที่เคยได้รับเชื้อโควิด-19 และไม่เคยได้รับวัคซีน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากวันที่พบการติดเชื้ออย่างน้อย 1 เดือน และประเภทที่ 2 บุคคลที่ไม่เคยได้รับวัคซีนใดๆ มาก่อน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์
(อ่านข่าว เพจดังถาม วัคซีนไฟเซอร์อีก 2 แสนกว่าโดส หายไปไหน หลังเปิดยอดจัดสรร กทม.-ตจว.)
ด้าน นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กรณีวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) กล่าวว่า เอกสารที่ นพ.ยงยศ ลงนามไปนั้นเป็นการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ไปยัง 76 จังหวัด รวม 322,800 โดส กทม.อีก 1.2 แสนโดส ในสถานพยาบาล 162 แห่ง ซึ่งเป็นเพียงการจัดส่งในรอบแรก 4-6 ส.ค. อัตราการจัดส่งคิดเป็น 50-70% เป็นยอดจากการสำรวจเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่จังหวัดส่งขึ้นมาเทียบกับฐานข้อมูลบุคลากรที่กระทรวงสาธารณสุขมีอยู่
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ให้ฉีดสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนใดๆ มาก่อนเลยแล้วจะให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มแรก รวมถึงกลุ่มที่ได้วัคซีนชนิดอื่นๆ เป็นเข็มแรกไปแล้วให้ฉีดไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ซึ่งรอทางจังหวัดส่งตัวเลขมาเพื่อที่เราจัดลงไปเพิ่มเติม โดยในจำนวนวัคซีนที่ส่งไปวันนี้สามารถฉีดให้กลุ่มบุคลากรเป้าหมายได้ทุกกลุ่มอยู่แล้ว น่าจะฉีดให้เสร็จใน 1 สัปดาห์ ส่วนล็อตต่อไปคาดว่าน่าจะส่งเร็วๆ นี้
“ตัวเลขวัคซีนที่ส่งไปในแต่ละจังหวัดที่เห็นว่าไม่เท่ากัน บางพื้นที่ได้มาก บางพื้นที่ได้น้อยนั้นเป็นตัวเลขที่มาจากทางจังหวัดสำรวจ และส่งข้อมูลมาที่ส่วนกลาง และนำมาแมตช์กันกับข้อมูลที่ส่วนกลาง ตัวเลขที่ไม่เท่ากันก็เพราะตัวเลขบุคลากรแต่ละพื้นที่มีไม่เท่ากัน บางจังหวัดมีบุคลากรไม่มาก บางจังหวัดฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดสด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไปแล้ว ก็เลยตัดตรงนั้นออกไป ไม่ใช่ว่ากระทรวงสาธารณสุขคิดตัวเลขขึ้นมาเอง เราให้ตามสัดส่วนบุคลากร” นพ.สุระกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเอกสารการนำส่งวัคซีนไฟเซอร์มีการจัดสรรวัคซีนให้แต่ละจังหวัด ดังนี้
เขตสุขภาพที่ 1
จ.เชียงราย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ 5,280 โดส
จ.เชียงใหม่ รพ.นครพิงค์ 10,320 โดส
จ.น่าน รพ.น่าน 2,640 โดส
จ.พะเยา รพ.พะเยา 2,640 โดส
จ.แพร่ รพ.แพร่ 2,640 โดส
จ.แม่ฮ่องสอน รพ.ศรีสังวาลย์ 1,680 โดส
จ.ลำปาง รพ.ลำปาง 2,400 โดส
จ.ลำพูน รพ.ลำพูน 2,160 โดส
เขตสุขภาพที่ 2
จ.ตาก รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 4,320 โดส
จ.พิษณุโลก รพ.พุทธชินราช 6,960 โดส
จ.เพชรบูรณ์ รพ.เพชรบูรณ์ 3,120 โดส
จ.สุโขทัย รพ.สุโขทัย 2,640 โดส
จ.อุตรดิตถ์ รพ.อุตรดิตถ์ 3,120 โดส
เขตสุภาพที่ 3
จ.กำแพงเพชร รพ.กำแพงเพชร 3,360 โดส
จ.ชัยนาท รพ.ชัยนาทนเรศวร 1,920 โดส
จ.นครสวรรค์ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ 4,080 โดส
จ.พิจิตร รพ.พิจิตร 2,880 โดส
จ.อุทัยธานี รพ.อุทัยธานี 1,680 โดส
เขตสุขภาพที่ 4
จ.นครนายก รพ.นครนายก 2,880 โดส
จ.นนทบุรี รพ.ศูนย์การแพทย์นนทบุรี 11,280 โดส
จ.ปทุมธานี รพ.ปทุมธานี 5,760 โดส
จ.พระนครศรีอยุธยา รพ.พระนครศรีอยุธยา 2,640 โดส
จ.ลพบุรี รพ.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 3,360 โดส
จ.สระบุรี รพ.สระบุรี 3,840 โดส
จ.สิงห์บุรี รพ.อินทร์บุรี 1,440 โดส
จ.อ่างทอง รพ.อ่างทอง 1,440 โดส
เขตสุขภาพที่ 5
จ.กาญจนบุรี รพ.พหลพลหยุหเสนา 3,840 โดส
จ.นครปฐม รพ.นครปฐม 4,800 โดส
จ.ประจวบคีรีขันธ์ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ 3,840 โดส
จ.เพชรบุรี รพ.พระจอมเกล้า 3,360 โดส
จ.ราชบุรี รพ.ราชบุรี 4,320 โดส
จ.สมุทรสงคราม รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า 1,200 โดส
จ.สมุทรสาคร รพ.สมุทรสาคร 5,280 โดส
จ.สุพรรณบุรี รพ.เจ้าพระยายมราช 3,120 โดส
เขตสุขภาพที่ 6
จ.จันทบุรี รพ.พระปกเกล้า 3,360 โดส
จ.ฉะเชิงเทรา รพ.พุทธโสธร 4,080 โดส
จ.ชลบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี 12,720 โดส
จ.ตราด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด 1,440 โดส
จ.ปราจีนบุรี รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร 3,120 โดส
จ.ระยอง รพ.ระยอง 3,840 โดส
จ.สมุทรปราการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ 10,080 โดส
จ.สระแก้ว รพ.สระแก้ว 2,880 โดส
เขตสุขภาพที่ 7
จ.กาฬสินธุ์ รพ.กาฬสินธุ์ 4,080 โดส
จ.ขอนแก่น สำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 9,480 โดส
จ.มหาสารคาม รพ.มหาสารคาม 3,840 โดส
จ.ร้อยเอ็ด รพ.ร้อยเอ็ด 6,480 โดส
เขตสุขภาพที่ 8
จ.นครพนม รพ.นครพนม 3,120 โดส
จ.บึงกาฬ รพ.บึงกาฬ 2,160 โดส
จ.เลย รพ.เลย 3,120 โดส
จ.สกลนคร รพ.สกลนคร 4,320 โดส
จ.หนองคาย รพ.หนองคาย 2,880 โดส
จ.หนองบัวลำภู รพ.หนองบัวลำภู 1,920 โดส
จ.อุดรธานี รพ.อุดรธานี 6,720 โดส
เขตสุขภาพที่ 9
จ.ชัยภูมิ รพ.ชัยภูมิ 4,800 โดส
จ.นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 15,360 โดส
จ.บุรีรัมย์ รพ.บุรีรัมย์ 7,200 โดส
จ.สุรินทร์ รพ.สุรินทร์ 4,560 โดส
เขตสุขภาพที่ 10
จ.มุกดาหาร รพ.มุกดาหาร 1,920 โดส
จ.ยโสธร รพ.ยโสธร 2,640 โดส
จ.ศรีสะเกษ รพ.ศรีสะเกษ 5,760 โดส
จ.อำนาจเจริญ รพ.อำนาจเจริญ 1,680 โดส
จ.อุบลราชธานี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ 10,080 โดส
เขตสุขภาพที่ 11
จ.กระบี่ รพ.กระบี่ 2,160 โดส
จ.ชุมพร รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 2,400 โดส
จ.นครศรีธรรมราช รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช 6,240 โดส
จ.พังงา รพ.พังงา 1,680 โดส
จ.ภูเก็ต รพ.วชิระภูเก็ต 3,840 โดส
จ.ระนอง รพ.ระนอง 1,200 โดส
จสุราษฎร์ธานี รพ.สุราษฎร์ธานี 7,680 โดส
เขตสุขภาพที่ 12
จ.ตรัง รพ.ตรัง 3,360 โดส
จ.นราธิวาส รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ 3,600 โดส
จ.ปัตตานี รพ.ปัตตานี 2,160 โดส
จ.พัทลุง รพ.พัทลุง 2,400 โดส
จ.ยะลา รพ.ยะลา 2,880 โดส
จ.สงขลา รพ.สงขลา 10,800 โดส
จ.สตูล รพ.สตูล 2,160 โดส
รวมทั้งหมด 322,800 โดส
สำหรับ กรุงเทพมหานคร จัดส่งไปที่สถานพยาบาล รพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 162 แห่งทั่วกรุงเทพฯ รวมทั้งหมด 120,000 โดส