http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (30 สิงหาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับ การเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท) 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทน
อย่างอื่นของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. ….
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความ ดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำเฉพาะมอเตอร์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ต่อกับ แหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน แรงดัน 220 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559
แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง
เศรษฐกิจ สังคม
8. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน สำหรับโครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่ง ตะวันออก ตำบลคลองขุด ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล 9. เรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของ
นายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา
10. เรื่อง แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการ
ดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน
11. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าใช้จ่ายบุคลากร
ภาครัฐ ของสำนักงาน ป.ป.ช. เพิ่มเติม
12. เรื่อง รายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต
ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
13. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2565 14. เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
ฉบับปรับปรุง
15. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง
ซ่อมแซมถนนและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับความเสียหายจากสาธารณภัยหรือเพื่อแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่
16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ในชุมชน
ต่างประเทศ
17. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training
Center: RTC) ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก
18. เรื่อง การดำเนินการตามข้อมติคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการ ต่อต้านการก่อการร้ายและภัยต่ออัฟกานิสถานและการให้ความช่วยเหลือทาง
มนุษยธรรมแก่อัฟกานิสถาน ที่ 2611 (ค.ศ. 2021) และที่ 2615 (ค.ศ. 2021)
19. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษา ความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงคมนาคม
แห่งราชอาณาจักรไทยกับกรมการขนส่งแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
และไอร์แลนด์เหนือ (Memorandum of Understanding on the International Ship and Port Facility Security Code Between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and the Department for Transport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) 20. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่าง กระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ
แห่งมองโกเลีย
21. เรื่อง ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC)
ไทย ? มองโกเลีย ครั้งที่ 1 รวมทั้งดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง
22. เรื่อง การเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา 23. เรื่อง การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย 24. เรื่อง การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบ ของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565 25. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์เพิ่มเติมของการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) 30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย 32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณี และเครื่องประดับแห่งชาติ 33. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นใน คณะกรรมการองค์การตลาด 34. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
ในกระทรวงวัฒนธรรม
36. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และร่าง คำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่
หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ตามลำดับ โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับในเรื่องเดียวกัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับบทนิยาม การกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท การดำรงเงินกองทุนและการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การคำนวณผลกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ข้อห้ามมิให้บริษัทดำเนินการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการและนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระบบการกำกับดูแลกิจการ การจัดทำบัญชี สมุดทะเบียน การจัดทำและยื่นงบการเงิน ข้อมูล รายงาน เอกสาร หรือคำชี้แจง กำหนดหน้าที่ของผู้สอบบัญชี การจัดทำรายงานการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินผล เกี่ยวกับฐานความพร้อมของบริษัท การตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท และบทกำหนดโทษ รายละเอียด ดังนี้ ประเด็นที่แก้ไข สาระสำคัญ 1. การกำหนดให้บริษัทสามารถรับประกันภัยอื่นนอกเหนือจากการรับประกันชีวิต (สำหรับบริษัทประกันชีวิต) และนอกเหนือจากการรับประกันวินาศภัย (สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย) (กฎหมายปัจจุบันไม่มี) ? เพิ่มเติมให้บริษัทสามารถจัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อตัวบุคคลอันเนื่องมาจากการประกันชีวิต - บริษัทประกันชีวิตสามารถขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคลเป็นสัญญาเพิ่มเติมได้ (เช่น ประกันชีวิตที่มีประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติม) - บริษัทประกันวินาศภัยสามารถขายกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคล (เช่น ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย) เพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันที่บริษัทมีการรับประกันภัยลักษณะอื่นซึ่งมิใช่การประกันชีวิตด้วยแต่มีความเกี่ยวเนื่องกับการประกันชีวิต 2. การกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัย (กฎหมายปัจจุบันไม่มี) ? เพิ่มเติมการกำหนดขอบเขตของนิยามคำว่า?กรรมการของบริษัท? ให้รวมถึงผู้จัดการสาขาและคณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศด้วย เพื่อให้การควบคุมบริษัทประกันชีวิตของไทยและบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรเป็นไปในมาตรการเดียวกัน 3. หลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้น (กฎหมายปัจจุบันไม่มี) ? เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับจำนวนหุ้นที่บริษัทได้ทำการจำหน่ายหุ้น โดยให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมถึงการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทในการระบุหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีที่มีการชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้น รวมทั้งปรับปรุงเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทกรณีที่พบการมีหุ้นเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด 4. การดำรงเงินกองทุน (กฎหมายปัจจุบันไม่มี) ? เพิ่มเติมมาตรการดำรงเงินกองทุน โดยปรับปรุง มาตรการในการดำรงเงินกองทุนเพื่อเป็นหลัก ประกันในการประกอบธุรกิจของบริษัทและความน่าเชื่อถือของผู้เอาประกัน และธุรกิจประกันภัย โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำรงเงินกองทุนให้เกิดความชัดเจนที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น บริษัทต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่คณะ กรรมการกำหนด คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดให้บริษัทดำรงเงินกองทุนเพิ่มได้ โดยอาจกำหนดเป็นการทั่วไปหรือการเฉพาะก็ได้ ในกรณีที่พบว่าบริษัทมีความเสี่ยงสูงหรือคาดว่าจะมีความเสี่ยงสูงในอนาคต ? ปรับปรุงการกำหนดอัตราส่วนในการดำรงเงิน กองทุนให้สอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบันที่จะคำนวณมาจากสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน ความเสี่ยง และตัวแปรอื่น ๆ โดยได้กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา 5. อัตราเบี้ยประกันภัย (เดิม ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน) ? แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้อำนาจบริษัทในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยแบบกลุ่มได้เอง โดยมิต้องขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน แต่ต้องดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด โดยความเห็นชอบของ คปภ. เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการประกอบธุรกิจประกันภัยที่บริษัทสามารถดำเนินการได้เองและรองรับการเปิดเสรีอัตราเบี้ยประกันภัย 6. การออกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเงินตราต่างประเทศ (เดิม ห้ามมิให้บริษัทประกันชีวิตออกกรมธรรม์ประกันภัย โดยระบุจำนวนเงินอันพึงใช้ให้เป็นเงินตราต่างประเทศแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์) หมายเหตุ พ.ร.บ. ประกันวินาศภัยฯ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ? แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถระบุการใช้เงินตราต่างประเทศได้ หากได้มีการตกลงไว้ในสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้รองรับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่ชาวต่างประเทศมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ กค. ได้หารือกับ European Association for Business and Commerce (EABC) ที่มุ่งประสงค์ให้การประกันภัยของไทยสามารถให้บริการกับชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ 7. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผล (เดิม การคำนวณผลกำไรของบริษัทว่ามีหรือไม่เท่าใดเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน) ? แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อำนาจ คปภ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บริษัทจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องชะลอหรืองดจ่ายเงินปันผลเพื่อรักษาสถานะและเสถียรภาพของบริษัท 8. ปรับปรุงข้อห้ามในการดำเนินการของบริษัท (เดิม ฝากเงินไว้ที่อื่นนอกจากที่ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์) (เดิม ให้ประโยชน์พิเศษแก่ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับผลประโยชน์) (เดิม ไม่มีบทบัญญัติการกู้ให้กู้ยืม ค้ำประกัน) ? กำหนดให้บริษัทสามารถฝากเงินไว้ที่อื่นนอกเหนือจากสถาบันการเงินได้ในกรณีที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ ? ปรับปรุงการห้ามให้ประโยชน์ที่นอกเหนือจากที่ กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ โดยสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนกำหนด ? กำหนดธุรกรรมที่ต้องห้ามกระทำให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นการกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมที่มีการโอนต่อหลาย ๆ ทอดได้ เช่น ให้กู้ยืม ค้ำประกันแก่กรรมการและบุคคลในบริษัทเว้นแต่เป็นการให้กู้เพื่อสวัสดิการ 9. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการ (คงหลักการเดิม และปรับปรุงให้สอดคล้องกับปัจจุบัน) ? เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการ และผู้มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาและความรู้หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น แก้ไขการกำหนดระยะเวลาในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจากที่กำหนดระยะเวลาไว้ ?สามเดือน? เป็น ?หนึ่งปี? เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการตามกระบวนการควบคุมหรือการสั่งหยุดรับประกันภัยไม่เกิน 1 ปี 10. การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท (กฎหมายปัจจุบันไม่มี) (เดิม ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันภัยต่อ) ? เพิ่มเติมการแต่งตั้งกรรมการบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ? ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับความเสี่ยงภัยไว้เองและการประกันภัยต่อและการดำเนินการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 11. การควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัย (คงหลักการเดิม แต่ปรับปรุงลำดับขั้นตอนการสั่งให้ยื่นและประกาศรายงานต่าง ๆ ให้ชัดเจน และเปลี่ยนอำนาจการกำหนดแบบรายงานงบการเงินจากคณะกรรมการเป็นนายทะเบียน) ? เพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งให้บริษัทจัดทำ รวบรวม ส่ง ข้อมูล รายงาน หรือเอกสาร ต่าง ๆ จะต้องเป็นไปเฉพาะในกรณีที่จำเป็นและเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัยเท่านั้น มิใช่กรณีการใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท 12. การแก้ไขฐานะเงินกองทุน (เดิม เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลที่รับผิดชอบผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้) ? การดำเนินการ กำหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินงานอันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ให้อำนาจนายทะเบียนสั่งแก้ไขฐานะการดำเนินงาน สั่งห้ามขยายธุรกิจ สั่งเพิ่มทุน/ลดทุน สั่งถอดถอนกรรมการ ? ฐานะการเงิน กรณีที่บริษัทมีเงินกองทุนต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถเข้าแทรกแซงได้ 3 ระดับ ได้แก่