ชาวบ้านหลายจังหวัดปวดใจ รัฐทำหาดพัง ทำ กำแพงกันคลื่น จนน้ำเซาะฝั่ง ใช้งบไปแล้ว7พันล้าน เรียกร้องไปนานแล้ว แต่ไม่มีความคืบหน้า ยังคงสร้างต่อ
Beach for Life
ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เกิดขึ้นกับ ชายฝั่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทยมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 เป็นต้นมา เช่น ชายหาดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สงขลา นครศรีธรรมราช สตูล เป็นต้น โดยภาครัฐมีการแก้ปัญหาด้วยการก่อสร้างโครงสร้างแข็ง หรือที่เรียกว่า ‘กำแพงกันคลื่น’ เพื่อแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะ
Beach for Life
อย่างไรก็ตาม หลายภาคส่วน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านชายฝั่ง ได้ตั้งคำถามว่า แนวทางดังกล่าวจะยิ่งทำให้ชายหาดพังทลายอย่างรุนแรงมากขึ้นและเป็นวงจรที่ขยายไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ปัญหาบานปลายยิ่งกว่าเดิมหรือไม่ โดยข้อกังวลจากหลายภาคส่วนที่มีต่อโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น (Seawall) มีตั้งแต่ด้านผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ชายหาด ความคุ้มค่าด้านงบประมาณ รวมถึง ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน แม้ประชาชนพยายามเรียกร้องหรือทำประชาพิจารณ์กันแล้วก็ตาม แต่กลับไม่เป็นไปตามที่ทำประชาพิจารณ์ไว้
Khaosod
จากข้อมูลที่รวบรวมโดยกลุ่ม Beach for Life องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งติดตามประเมินผลกระทบจากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทั่วประเทศ สำรวจพบว่าช่วงปีพ.ศ. 2556-2562 มีโครงการกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นรวมกัน 74 โครงการ เป็นระยะทางกว่า 34 กิโลเมตร ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน คิดเป็นงบประมาณกว่า 6,900 ล้านบาท ซึ่งองค์กรได้เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า “การระบาดของกำแพงกันคลื่น”
เครือข่ายประชาชนรักษ์
ในปี พ.ศ. 2556 เป็นช่วงเวลาที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เพิกถอนการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ออกจากโครงการกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งความยาว 200 เมตรขึ้นไป โดยให้เหตุผลว่า การก่อสร้างกำแพงกันคลื่น คือภารกิจบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาการตกตะกอนปากร่องน้ำ หากต้องทำ EIA จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
เอกสารงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 2564 ของสำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย(กรมโยธาธิการอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย)
ในปีงบประมาณ 2564 กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหน่วยงานรัฐที่ครองสัดส่วนจำนวนโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสูงสุด อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมโยธาธิการฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ทางหน่วยงานไม่ได้มุ่งสร้างแต่โครงสร้างถาวร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ทำโครงการนั้น มีปัญหาการกัดเซาะที่รุนแรงเกินกว่าจะใช้โครงสร้างชั่วคราว จึงจำเป็นต้องศึกษาออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างถาวรเพื่อให้การป้องกันชายฝั่งเป็นไปอย่างยั่งยืน
สมาคมฟิสิกส์ไทย
อย่างไรก็ตาม ผศ.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ม.เกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ถึงแม้การก่อสร้างแนวกำแพงกันคลื่นสามารถป้องกันสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่อยู่หลังแนวกำแพงได้จริง แต่โครงสร้างแข็งเช่นนี้ก็มีผลกระทบต่อแนวชายหาดทั้งบริเวณด้านหน้าและด้านข้าง
เมื่อคลื่นเข้ามาปะทะกำแพงด้านหน้า จะเกิดการตะกุยทรายจากชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่นออกไป ส่งผลให้ชายหาดหน้ากำแพงกันคลื่นหายไป ขณะที่ด้านข้างจะได้รับผลกระทบจากการเลี้ยวเบนของคลื่นซึ่งทำให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงกันคลื่นด้านท้ายน้ำ (Downdrift) เกิดการกัดเซาะ
Beach for life
“พอเกิดผลกระทบชิ่งไปยังชายหาดที่อยู่ข้างๆ รัฐทำอย่างไรต่อ รัฐก็ใช้โครงสร้างแบบเดิมหรือใกล้เคียงกัน มาสร้างต่อกันเป็นแนวยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะมันสร้างง่าย ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องทำ EIA แล้ว เลยสามารถสร้างต่อไปได้เรื่อยๆ จนมันเกิดเป็นการระบาด” ผศ.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง กล่าว
Beach for life
ด้านรองอธิบดีกรมโยธาธิการและการผังเมืองให้ข้อมูลว่า ทางกรมโยธาธิการทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และกำหนดมาตราการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไว้ เช่น การใช้วิธีปักไม้ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) แล้วว่าเป็นโครงสร้างอ่อนที่สามารถใช้บรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ชั่วคราว
Beach for Life
Beach For Life