วันที่ 10 ก.ค. 65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ภาคเหนือ จ.อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ น้ำปาด ท่าปลา) พิษณุโลก (อ.นครไทย ชาติตระการ วังทอง เนินมะปราง) และเพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า หล่มสัก ชนแดน หนองไผ่)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ เทพสถิต หนองบัวแดง หนองบัวระเหว)
ภาคกลาง จ.ตราด (อ.บ่อไร่ คลองใหญ่ แหลมงอบ เกาะช้าง)
ภาคใต้ จ.ระนอง (ทุกอำเภอ)
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น (อ.เมืองฯ)
ภาคกลาง จ.จันทบุรี (อ.แก่งหางแมว)
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
ภาคกลาง จ.ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ) ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง) จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง) และตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์) พังงา (อ.เมืองฯ เกาะยาว ทับปุด ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี) ภูเก็ต (อ.เมืองฯ กะทู้ ถลาง) กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก) ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ) และสตูล (อ.เมืองฯ ละงู มะนัง ทุ่งหว้า)
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า และระวังการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรงให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนนักท่องเที่ยวควรงดลงเล่นน้ำทะเล และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายทะเลให้ระมัดระวังผลกระทบจากคลื่นที่ซัดเข้าฝั่ง
ทั้งนี้รายงานจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเมื่อวันที่ 9 – 10 ก.ค. 65 ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น และจันทบุรี รวม 2 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำลดลง
นอกจากนี้ ยังได้เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกระบี่ รวม 16 อำเภอ 32 ตำบล 58 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 275 หลัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย (นครศรีธรรมราข) ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเมื่อวันที่ 9 – 10 ก.ค. 65
ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น และจันทบุรี รวม 2 อำเภอ 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต แยกเป็น
1. ขอนแก่น เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
2. จันทบุรี เกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย สถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำลดลง
นอกจากนี้ ยังได้เกิดสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกระบี่ รวม 16 อำเภอ 32 ตำบล 58 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 275 หลัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย แยกเป็น
1. สุราษฎร์ธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระแสง และอำเภอเวียงสระ รวม 3 ตำบล 9 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 35 หลัง
2. นครศรีธรรมราช เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งสง อำเภอบางขัน อำเภอฉวาง และอำเภอช้างกลาง รวม 11 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 118 หลัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย
3. พังงา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพังงา อำเภอท้ายเหมือง อำเภอเกาะยาว อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอคุระบุรี และอำเภอทับปุด รวม 17 ตำบล 33 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 114 หลัง
4. กระบี่ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเขาพนม รวม 1 ตำบล 4 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 8 หลัง
สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง