นักวิจัยม.สงขลานครินทร์ สำรวจถ้ำ 3 แห่ง ใน”อุทยานธรณีโลกสตูล” เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน โดยถ้ำเลสเตโกดอนมีความหลากหลายทำลายสถิติ และพบ 3 สิ่งมีชีวิต คาดเป็นชนิดใหม่ของโลก
จากการลงพื้นที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงกการ “การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของสิ่งมีชีวิตในถ้ำในอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน ระหว่าง 8-10 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา
© สนับสนุนโดย Thansettakij ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ได้สำรวจ 3 ถ้ำ คือ ถ้ำเลสเตโกดอน (อำเภอทุ่งหว้า) ถ้ำอุไรทอง และถ้ำทะลุ (อำเภอละงู) พบว่า ถ้ำเลสเตโกดอน มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด โดยสำรวจพบสัตว์มีกระดูกสันหลัง 34 ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 95 ชนิด รวม 129 ชนิด ซึ่งได้ทำลายสถิติของถ้ำภูผาเพชร ที่มีรายงานความหลากหลายทางชีวภาพจำนวน 94 ชนิด
เนื่องจากถ้ำเลสเตโกดอนมีน้ำลอด ซึ่งเชื่อมไปยังทะเลเปิดข้างนอก มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เป็นปัจจัยที่ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เมื่อเทียบกับถ้ำอุไรทองและถ้ำทะลุ ซึ่งไม่มีน้ำผ่าน และเป็นถ้ำที่สั้นมาก จึงทำให้สำรวจพบสิ่งมีชีวิตน้อยมาก © สนับสนุนโดย Thansettakij
© สนับสนุนโดย Thansettakij
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังสำรวจพบ แมลงสาบทะเล สกุล Cirolana ที่ถ้ำเลสเตโกดอน แมลงหางดีด ที่ถ้ำอุไรทอง และมดคอยาว ที่ถ้ำทะลุ ซึ่งคาดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบและตั้งชื่อ รวมทั้งยังสำรวจพบค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ ซึ่งเป็นค้างคาวเฉพาะถิ่นของไทย พบในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น และยังไม่มีรายงานการสำรวจพบที่จังหวัดสตูล
© สนับสนุนโดย Thansettakij © สนับสนุนโดย Thansettakij
ดร.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ได้จะนำไปสนับสนุนการประเมินของยูเนสโก เป็นฐานข้อมูลและองค์ความรู้แก่ชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดในการถ่ายทอดเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตภายในถ้ำ เป็นวัตถุดิบแก่ไกด์ท้องถิ่น เพื่อดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวนอกเหนือจากการเล่าเรื่องของถ้ำ
© สนับสนุนโดย Thansettakij
“สิ่งสำคัญคือการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตและถ้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ชุมชนนำไปสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ชุมชนยังคงใช้ประโยชน์ต่อไป และทรัพยากรไม่ถูกทำลาย นี่คือเป้าหมายสูงสุด” ดร.พิพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
© สนับสนุนโดย Thansettakij
หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,680 วันที่ 20 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ยืนยันแล้ว นักวิจัยม.สงขลานครินทร์พบพืชใหม่ของโลก“ระย้าแก้วบาลา”
- นักวิจัยไทยค้นพบ”แมลงสาบทะเล”2ชนิดใหม่ของโลก
- พบ”มดยักษ์ปักษ์ใต้”ที่เขาคอหงส์หาดใหญ่
- วิจัยเพิ่มมูลค่า “เปลือก-น้ำเชื่อม”มะม่วงเบา
- “ธพว.” ผนึก “PSU” หนุน “เอสเอ็มอี” ต่อยอดธุรกิจด้วยงานวิจัย-นวัตกรรม
Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้