วันศุกร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564, 16.06 น.
อว.หนุนบรรเลงเพลงแห่งอันดามันเผยแพร่มรดกชาติ ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านแดนใต้ผ่านวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หนุนมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข บรรเลงบทเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้านของภาคใต้ผ่านการแสดงของวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า อาทิ เพลงลาฆูดัว เพลงศรีนวล เพลงปาหรี่หาดยาว-ปาหรี่สตูล ผลงานต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ พร้อมการแสดงภาพจิตรกรรมประกอบเพลงโดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ และมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน สนับสนุนการจัดแสดง “เพลงแห่งทะเลอันดามัน ที่ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ หน้าวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า” อำนวยการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน
การแสดงดังกล่าวบรรเลงดนตรีโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวงโดย ดร.ธีรนัย จิระสิริกุล ซึ่งได้แสดงบรรเลงเพลงลาฆูดัว เพลงศรีนวล เพลงอานะอิกัน เพลงปาหรี่หาดยาว-ปาหรี่สตูล เพลงปาหรี่ภูเก็ต เพลงเซียปาอิตู เพลงจำเปียน – ติหมังบุหรง เพลงเลฮังกังกง – ต๋อยอีแลต เพลงสร้อยกำ และมีเพลงแถมคือเพลงนกสีเหลือง ขับร้องโดย นางสาวกมลพร หุ่นเจริญ และเพลงบูบู ขับร้องโดย นายพลธรายุทธ ทิพยุทธ และระหว่างการบรรเลงเพลง ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ได้สร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง
กิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดกระบี่โดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้านี้ เป็นผลงานการวิจัยใน “โครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน” และ “โครงการขยายผลต่อยอดวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ” ที่ วช. ได้สนับสนุน “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ซึ่งดำเนินการโดย
รองศาสตราจารย์.ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป โดยก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะมีการแสดงเพลงพื้นบ้านของภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป
โอกาสนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย พันตำรวจโท หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจัดแสดงให้เข้าชมในจำนวนที่นั่งตามข้อกำหนดการป้องกันโควิด-19 ของ จังหวัดกระบี่ และการแสดงครั้งนี้ใช้วิธีถ่ายทำโดยบันทึกภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อโทรทัศน์
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เมื่อครั้งแรกคือที่หน้าวัดพระราม อยุธยา ก็เป็นเพลงของอยุธยา ตั้งแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งก็ได้พบว่ามันมีสุ้มเสียงแบบไทยและผสมกับสุ้มเสียงของเปอร์เซีย ของฝรั่ง ของลาว ของเขมร ของมอญด้วย ฟังแล้วก็น่าทึ่ง เพราะ มาวันนี้ได้ฟังที่กระบี่ ก็ได้พบว่าที่กระบี่ มีเกาะลันตา ซึ่งเป็นเหมือนเมืองหลวงของดนตรีแบบร็องเง็ง ร็องเง็งเป็นเหมือนเพลงของคนเร่ร่อนทางทะเล ในความรู้สึกของผมดนตรีเป็นแบบง่ายๆ ร่าเริง ค่อนข้างเร็ว ถ้าดนตรีทางอยุธยา ก็ช้าๆ ถ้าเป็นร็องเง็งก็จะเป็นดนตรีที่เร็ว และจังหวะเป็นที่ถูกใจและสนุก ในตอนท้ายก็ได้ฟังนกสีเหลือง ซึ่งเป็นเพลงที่มีชื่อเสียง และเป็นเพลงที่ขับร้องกันในยุค 14 ตุลา ก่อนที่จะนำมาแต่งด้วยดนตรีซิมโฟนี ของ รศ.ดร.สุกรี ฟังก็ยิ่งเพราะขึ้น
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวอีกว่า เราจะทำอย่างนี้ไปอีกหลายๆ จังหวัด หลายๆ ภาค คราวหน้าจะไปแสดงที่ลำปาง ลำปางจะมีเพลงพื้นบ้านมากที่สุดแห่งประเทศไทย รศ.ดร.สุกรี บอกว่าน่าจะมีมากที่สุดในประเทศไทย ก็คือที่จังหวัดลำปาง สาเหตุเป็นเพราะอะไรต้องไปฟังรศ.ดร.สุกรี อธิบายในวันนั้น แต่ละที่มีเพลพื้นบ้านแตกต่างกันไปหมด เพราะฉะนั้นเมืองไทยมีความหลากหลายทางดนตรีโบราณมาก เอามาทำให้ทันสมัยขึ้นแบะเอามาทำให้สากลขึ้น ก็จะเป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น ต้องขอบคุณขาวกระบี่ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ทำงานด้วยหัวใจ ด้วยความรักยิ่ง
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวถึงในกรณีของการสนับสนุนโรงเรียนดนตรีพิเศษโดยเฉพาะว่า เป็นที่น่าสนใจ ทั้งนี้ต้องปรึกษาหารือกับชาวกระบี่และภูเก็ต มีร้านอาหารดีๆ มีโรงแรม 4 ดาว 5 ดาว ซึ่งต้องการนักดนรีมากมาย และคนไทยก็เก่งเรื่องดนตรี ฝึกไม่นานก็เล่นได้แล้ว เป็นข้อเสนอที่ดีมาก ทั้งนี้ได้เสนอผู้ว่าราขการจังหวัดกระบี่ว่า จัดแสดงที่หน้าหาดสักครั้งหนึ่ง ในตอนที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้น โควิด-19 หมดไปแล้ว เพราะตอนนี้เริ่มมีวัคซีน ก็มาตัดที่หน้าหาดสักครั้งหนึ่ง ก็ฝรั่งน่าจะถึง ส่วนตัวผมเองมากระบี่หลายครั้งแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่ามีดนตรีแบบนี้อยู่ ไม่ใช่ออร์เคสตร้า เป็นแบบเพลงโบราณ ที่พอนำมาแต่วเป็นออร์เคสตร้าแล้วมันเพราะเหลือเกิน และเราก็ได้เห็นดนตรีร็องเง็งแบบแท้ๆ ดั่งเดิมที่มี ฆ้อง กลอง ไวโอลิน มันเป็นอะไรที่เกินความคาดหมาย เพราะที่ผ่านมาเราเองไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้ เราสนใจแต่หาดทราย ภูเขาซึ่งก็ดีนะ แต่ว่าดนตรีจะเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่าของกระบี่ กระบี่ไม่ใช่ตังหวัดที่อยู่รองไปจากภูเก็ต ไม่ใช่แค่นั้นนะ แต่กระบี่มองในอีกแง่หนึ่งเป็นเมืองหลวงของดนตรีร็องเง็ง ฉะนั้นต้องนี้ต้องทำขึ้นมา
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า ดนตรีพื้นบ้านที่จะทำใหม่นั้น จะทำขึ้น 12 จังหวัด ก็เดี๋ยวจากกนตรีล้านนาภาคเหนือ ก็จะไปเป็นดนตรีอีสานแบะที่อื่นๆ อีก และรศ.ดร.สุกรี ทำดีมากมีสูจิบัตรมาตรฐาน ทำอะไรมาตรฐานก็แบบนี้คือทำอเไรต้องสุดไม่ทำแบบขอไปที สำหรับคราวหน้าถ้าเป็นไปได้จะให้มีนักดนตรี 80 คน แต่ทั้งนี้ผมมีความตั้งใจที่จะไปดูทุกครั้ง แต่คนไทยส่วนมากยังฟังเพลงป๊อบญี่ปุทน เกาหลี ทั้งๆ ที่จองดีของเรามีเยอะแยะ อย่างที่ รศ.ดร.สุกรี ท่านพูด ว่าเมืองไทยตามเขาเนี่ยว่าเก่ง ทำเองเราว่าโง่ ตรงนี้เป็น Mind set ที่ต้องเปลี่ยนให้ได้ เปลี่ยนให้ได้อย่างไรไม่ได้อยูที่ผมคนเดียว พวกเราต้องช่วยกัน
“ดนตรีไม่มีเสียงร้อง มีแต่ดนตรี มันทำให้ดนตรีเป็นสากลขึ้น เราก็ฟังได้ คนทุกชาติทุกภาษาฟังดนตรีที่เป็นเสียงดนตรีจริงๆ มันเข้าถึงกันได้หมดและดนตรีจะเห็นคนหลายวัย ที่น่าชื่นใจนักดนตรีวงซิมโฟนีอยู่ในวัยที่ไม่มาก อยู่ในวัยที่กำลังเบ่งบานเติบโตได้อีก แบะดนตรีร็องเง็ง คนเล่นเป็นวัยหนุ่มสาว แต่ว่าคนร้องเป็นผู้สูงวัย สองท่ายเป็นมุสลิมทั้งคู่และผู้ชายอายุ 75 ยังสามารถเต้นได้ บรรยากาศที่มาอยู่รวมกันทำให้เกิดความรัก เพลงที่ผมชอบที่สุดคือเพลง ศรีนวล เพราะมันเหมือนกับรวมเอาดนตรีแบบพุทธ แบบคนพุทธ แบบดนตรีมุสลิม เอามาประสานเข้าด้วยกันเอามารวมกันได้เป็นเพลงเดียว ถ้าศรีนวลของภาคกลาง จะเป็นแบบแนวอริยธรรมพุทธ อาจจะเเป๋นมอญ หรืออะไรก็ตามแต่ แต่เป็นพุทธ แต่ว่า ศรีนวลที่นี่ มันมีสุ้มเสียงของมลายู อยู่ด้วย เพราะมาก เพราะทุกเพลง” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนกกล่าว