คุณภาพชีวิต-สังคม
01 ต.ค. 2564 เวลา 12:25 น.
เช็คลิสต์ “อบต.” 76 แห่งทั่งประเทศ เตรียมพร้อม “เลือกตั้ง อบต.” วันอาทิตย์ 28 พ.ย. จังหวัดไหนได้เลือก “อบต.” มากที่สุด
เช็คลิสต์ “อบต.” 76 แห่งทั่งประเทศ เตรียมพร้อม “เลือกตั้ง อบต.” วันอาทิตย์ 28 พ.ย. จังหวัดไหนได้เลือก “อบต.” มากที่สุด
วันที่ 1 ต.ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่งทั่วประเทศในวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.2564 โดยมีวันสมัครรับเลือกตั้งระหว่างวันที่ 11-15 ต.ค.2564
ทั้งนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้ตรวจสอบข้อมูลจำนวน อบต.แยกรายจังหวัด จากกลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น 2 กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น สำนักงาน กกต. จากข้อมูลวันที่ 9 ก.ย.2563 ถึงปัจจุบัน จัดลำดับได้ดังนี้
1.นครราชสีมา 243 แห่ง
2.ศรีษะเกษ 179 แห่ง
3.อุบลราชธานี 179 แห่ง
4.บุรีรัมย์ 145 แห่ง
5.สุรินทร์ 144 แห่ง
6.ขอนแก่น 140 แห่ง
7.นครศรีธรรมราช 130 แห่ง
8.ร้อยเอ็ด 129 แห่ง
9.มหาสารคาม 123 แห่ง
10.พระนครศรีอยุธยา 121 แห่ง
11.นครสวรรค์ 121 แห่ง
12.อุดรธานี 109 แห่ง
13.ชัยภูมิ 106 แห่ง
14.เพชรบูรณ์ 102 แห่ง
15.ลพบุรี 102 แห่ง
16.สุราษฎร์ธานี 97 แห่ง
17.ปัตตานี 96 แห่ง
18.สงขลา 92 แห่ง
19.นครปฐม 90 แห่ง
20.เชียงใหม่ 89 แห่ง
21.นครพนม 81 แห่ง
22.น่าน 80 แห่ง
23.สุพรรณบุรี 80 แห่ง
24.พิษณุโลก 76 แห่ง
25.ตรัง 75 แห่ง
26.ราชบุรี 75 แห่ง
27.สกลนคร 74 แห่ง
28.ฉะเชิงเทรา 74 แห่ง
29.พิจิตร 73 แห่ง
30.กาญจนบุรี 72 แห่ง
31.นราธิวาส 72 แห่ง
32.เลย 71 แห่ง
33.กาฬสินธุ์ 71 แห่ง
34.สระบุรี 70 แห่ง
35.เชียงราย 70 แห่ง
36.เพชรบุรี 69 แห่ง
37.สุโขทัย 69 แห่ง
38.กำแพงเพชร 64 แห่ง
39.ยโสธร 63 แห่ง
40.ลำปาง 59 แห่ง
41.แพร่ 57 แห่ง
42.ปราจีนบุรี 55 แห่ง
43.อุตรดิตถ์ 53 แห่ง
44.ชุมพร 50 แห่ง
45.ชลบุรี 49 แห่ง
46.ตาก 49 แห่ง
47.สระแก้ว 49 แห่ง
48.อุทัยธานี 49 แห่ง
49.หนองคาย 48 แห่ง
50.ยะลา 47 แห่ง
51.กระบี่ 46 แห่ง
52.ประจวบคีรีขันธ์ 44 แห่ง
53.อ่างทอง 43 แห่ง
54.หนองบัวลาภู 43 แห่ง
55.แม่ฮ่องสอน 42 แห่ง
56.บึงกาฬ 39 แห่ง
57.นครนายก 39 แห่ง
58.อำนาจเจริญ 39 แห่ง
59.ระยอง 37 แห่ง
60.พะเยา 36 แห่ง
61.พังงา 36 แห่ง
62.ปทุมธานี 35 แห่ง
63.จันทบุรี 34 แห่ง
64.สตูล 34 แห่ง
65.สิงห์บุรี 33 แห่ง
66.มุกดาหาร 29 แห่ง
67.ตราด 28 แห่ง
68.มุทรปราการ 26 แห่ง
69.สมุทรสงคราม 26 แห่ง
70.พัทลุง 24 แห่ง
71.นนทบุรี 23 แห่ง
72.สมุทรสาคร 22 แห่ง
73.ชัยนาท 20 แห่ง
74.ระนอง 18 แห่ง
75.ลำพูน 17 แห่ง
76.ภูเก็ต 6 แห่ง
สำหรับการ “เลือกตั้ง อบต.” มีวาระการดำรงตำแหน่ง “นายก อบต.” จะมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ หรือในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีให้ถือว่าเป็น 1 วาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ ติดต่อกันแล้ว จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง ส่วนอายุของ “สภาองค์การบริหารส่วนตำบล” มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
ขณะที่หน้าที่และอำนาจ “นายก อบต.” เป็นผู้กำหนดนโยบายให้ไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ข้อบังคับของทางราชการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่
กฎหมายบัญญัติ โดยมี “ปลัด อบต.” เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง อบต. รองจาก “นายก อบต.” รวมถึงรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำ ของ อบต ให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่ “นายก อบต.” มอบหมาย
สำหรับลักษณะของคนที่ควรเลือกเป็นผู้แทน มีดังนี้
1.เป็นคนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น รับรู้ปัญหาของท้องถิ่น
2.มีคุณธรรม มีความเสียสละ
3.มีการหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่ทำผิดกฎหมาย
4.เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข เสนอนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและท้องถิ่นนั้นๆ
5.รับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม
6.ในการแก้ไขปัญหา เพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น
7.เป็นแบบอย่างที่ดีของการรู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวม
8.มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย