ท่ามกลาง “สถานการณ์น้ำ” ที่เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่หลังฝนตกหนักสะสมทั่วประเทศ ทำให้เขื่อนหลายแห่งกักเก็บน้ำเกินความจุที่รับไหว เช็คสถานการณ์ “เขื่อนไทย” มีที่ไหนบ้างที่กักเก็บน้ำมาก เข้าขั้น “ระดับวิกฤติ”
ท่ามกลาง “สถานการณ์น้ำ” ที่เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่หลังฝนตกหนักสะสมทั่วประเทศ ทำให้เขื่อนหลายแห่งกักเก็บน้ำเกินความจุที่รับไหว เช็คสถานการณ์ “เขื่อนไทย” มีที่ไหนบ้างที่กักเก็บน้ำมาก เข้าขั้น “ระดับวิกฤติ”
ข้อมูลจาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ, กรมชลประทาน และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ณ 27 ก.ย. 64 เรื่องปริมาณฝนสะสมช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระบุว่า ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวในทุกภูมิภาคของประเทศ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดต่อไปนี้ (เรียงจากมากไปน้อย)
– พังงา 163 มิลลิเมตร
– กระบี่ 106 มิลลิเมตร
– กาญจนบุรี 95 มิลลิเมตร
– นครราชสีมา 90 มิลลิเมตร
– เชียงใหม่ 86 มิลลิเมตร
– ราชบุรี 71 มิลลิเมตร
– ตาก 71 มิลลิเมตร
– ชัยภูมิ 70 มิลลิเมตร
– สุราษฎร์ธานี 69 มิลลิเมตร
– อุตรดิตถ์ 67 มิลลิเมตร
– นราธิวาส 66 มิลลิเมตร
– สงขลา 65 มิลลิเมตร
– เลย 63 มิลลิเมตร
– ลำพูน 62 มิลลิเมตร
– ตรัง 61 มิลลิเมตร
– กำแพงเพชร 60 มิลลิเมตร
– เชียงราย 56 มิลลิเมตร
– สุโขทัย 55 มิลลิเมตร
– ขอนแก่น 54 มิลลิเมตร
– ลำปาง 54 มิลลิเมตร
– ระนอง 50 มิลลิเมตร
– สตูล 50 มิลลิเมตร
– นครสวรรค์ 49 มิลลิเมตร
– ภูเก็ต 48 มิลลิเมตร
– ชัยนาท 48 มิลลิเมตร
– น่าน 44 มิลลิเมตร
– ศรีสะเกษ 43 มิลลิเมตร
– จันทบุรี 43 มิลลิเมตร
– นครศรีธรรมราช 42 มิลลิเมตร
– มุกดาหาร 41 มิลลิเมตร
– เพชรบุรี 40 มิลลิเมตร
– ยะลา 40 มิลลิเมตร
– อำนาจเจริญ 39 มิลลิเมตร
– ประจวบคีรีขันธ์ 39 มิลลิเมตร
– หนองบัวลำภู 38 มิลลิเมตร
– สุพรรณบุรี 38 มิลลิเมตร
– ระยอง 37 มิลลิเมตร
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่เฝ้าระวัง แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
– เฝ้าติดตาม ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังคงมีน้ำใช้การน้อยเพียง 4,680 ล้านลูกบาศก์เมตร
– เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่จากอิทธิพลของฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง
สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
วันที่ 27 ก.ย. 64 ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 62 เป็นน้ำใช้การ 20,742 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นเขื่อนปริมาณน้ำน้อยและเขื่อนปริมาณน้ำมาก
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย
– เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 45 โดยเป็นน้ำใช้การเพียงร้อยละ 17 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 133.34 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 0.57 ล้านลูกบาศก์เมตร
– เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 43 โดยเป็นน้ำใช้การเพียงร้อยละ 13 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 16.92 ล้านลูกบาศก์เมตร และไม่มีการระบายน้ำ
– *เขื่อนแม่กวงฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 22 โดยเป็นน้ำใช้การเพียงร้อยละ 16 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 0.51 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 0.04 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนที่มีปริมาณน้ำมาก
– *เขื่อนแม่มอก มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 106 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 92 น้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้น
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 10.12 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 14.00 ล้านลูกบาศก์เมตร
– *เขื่อนลำตะคอง มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 77 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 69 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 5.38 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 0.94 ล้านลูกบาศก์เมตร
– *เขื่อนลำพระเพลิง มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 85 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 84 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 9.71 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 2.73 ล้านลูกบาศก์เมตร
– *เขื่อนมูลบน มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 89 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 84 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 1.67 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 0.10 ล้านลูกบาศก์เมตร
– *เขื่อนนฤบดินทรจินดา มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 82 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 76 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 5.83 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการระบายน้ำ 2.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
– *เขื่อนหนองปลาไหล มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 100 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 92 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.13 ล้านลูกบาศก์เมตร และไม่มีการระบายน้ำ
หมายเหตุ *ข้อมูลรายงาน ณ วันที่ 26 ก.ย. 64
นอกจากนี้ เว็บไซต์ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ (National Hydroinformatics Data Center) ได้สรุปสถานการณ์ เขื่อนไทย น้ำมาก ระดับวิกฤติ ซึ่งมีน้ำกักเก็บ 81% ขึ้นไป พบว่ามี 11 แห่งดังนี้ (ข้อมูล ณ 27 ก.ย. 64)
1. เขื่อนแม่มอก (ลำปาง) // 119 ล้านลูกบาศก์เมตร // 108% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
2. เขื่อนจุฬาภรณ์ (ชัยภูมิ) // 167 ล้านลูกบาศก์เมตร // 102% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
3. เขื่อนหนองปลาไหล (ระยอง) // 165 ล้านลูกบาศก์เมตร // 101% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
4. เขื่อนประแสร์ (ระยอง) // 275 ล้านลูกบาศก์เมตร // 93% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
5. เขื่อนลำพระเพลิง (นครราชสีมา) // 143 ล้านลูกบาศก์เมตร // 92% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
6. เขื่อนมูลบน (นครราชสีมา) // 127 ล้านลูกบาศก์เมตร // 90% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
7. เขื่อนขุนด่านปราการชล (นครนายก) // 197 ล้านลูกบาศก์เมตร // 88% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
8. เขื่อนนฤบดินทรจินดา (ปราจีนบุรี) // 248 ล้านลูกบาศก์เมตร // 84% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
9. เขื่อนทับเสลา (อุทัยธานี) // 134 ล้านลูกบาศก์เมตร // 84% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
10. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน (พิษณุโลก) // 777 ล้านลูกบาศก์เมตร // 83% ของปริมาณน้ำเก็บกัก
11. เขื่อนลำแชะ (นครราชสีมา) // 224 ล้านลูกบาศก์เมตร // 81% ของปริมาณน้ำเก็บกัก